สถิติ
เปิดเมื่อ22/05/2012
อัพเดท7/07/2012
ผู้เข้าชม3596
แสดงหน้า4046
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทความ

บทที่4 พลังงานหมุนเวียน
รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34  
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2  
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่         
                         
บทที่ 4   เรื่อง  พลังงานหมุนเวียน
 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
  2. บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
  3. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  4. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
  5. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
  6. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
  7. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
  8. มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตเพื่อการดำรงชีวิต
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
  2. บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
  3. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  4. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
  5. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
  6. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
  7. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
  8. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้
  9. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

พลังงานชีวภาพ

พลังงานชีวภาพ คือพลังงานที่เกิดจากกระบวนการทางชีวภาพทุกชนิด ตั้งแต่มูลสัตว์เผาหรือโรงไฟฟ้าชีวมวล จนถึง รถที่ใช้นำมันเชื้อเพลิงจากเอธานอล ไม่เหมือนน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ พลังงานชีวภาพถือเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน เนื่องจากถูกผลิตขึ้นโดยพืชและสัตว์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบัน พลังงานชีวภาพถือเป็นพลังงานทดแทนที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก 

คำว่าเชื้อเพลิงชีวภาพหรือที่เรียกว่าพลังงานชีวภาพ คือพลังงานชีวภาพในรูปของเหลว เช่น ไบโอดีเซล (น้ำมันดีเซลที่สร้างจากน้ำมันทดแทน) และไบโอเอธานอลที่ใช้แทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างดี  

พลังงานชีวภาพถูกมองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากตามทฤษฎีแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกปล่อยออกมาจากการเผาผลาญพืชและต้นไม้ต่างๆ แต่ก็จะถูกดูดด้วยต้นไม้เช่นกัน อย่างไรก็ดี พลังงานชีวภาพถือว่าเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเชื้อเพลิงชีวภาพที่ถูกผลิตขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น น้ำมันปาล์ม ข้าวโพด และน้ำตาล

ทั้งนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพในบางประเด็น เช่น การปลูกพืชเพื่อเป็นพลังงานได้สร้างแรงกดดันให้แก่การความต้องการของตลาด เพิ่มการตัดไม้ทำลายป่า และราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น อีกด้านหนึ่งการผลิตพลังงานชีวภาพบางส่วนมีความเกี่ยวข้องต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น การผลิตเอธานอลจากข้าวโพดจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูงมากจากการใช้รถแทร็คเตอร์ ทำปุ๋ยและโรงงานต่างๆ ในกรณีเดียวกัน น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม ที่ปล่อยมลพิษจำนวนมากและส่งผลต่อต้นไม้และสัตว์อย่างรุนแรง นอกจากนี้ มีป่าจำนวนมากที่ถูกทำลายเพื่อสร้างโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

ปัจจุบัน ยังมีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับความมั่นคงและยั่งยืนของพลังงานชีวภาพ เช่นน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชและการเผาฟืนเพื่อเป็นความร้อนสำหรับผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ผู้ให้การสนับสนุนด้านพลังงานชีวภาพมองว่า เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นใหม่ เช่น เอธานอล เซลูโลส ที่ผลิตจาก พืชต่างๆ จะแสดงให้เห็นถึงการเป็นเชื้อเพลิงสำหรับใช้งานในระยะยาวด้วยการลดความต้องการในการใช้ปุ๋ย,พื้นที่การเกษตร และพลังงานในการผลิต    

เสียงวิพากย์วิจารณ์ล่าสุดเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพแนะว่าการใช้ไม้เพื่อการก่อสร้างอาคารและผลิตเฟอร์นิเจอร์จะส่งผลดีมากกว่าการนำมาเผา เนื่องจากแนวทางนี้จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในอาคารและเฟอร์นิเจอร์ เป็นเวลานานนับศตวรรษ ขณะที่อีกแนวทางที่ใช้เก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในต้นไม้คือการเผาผลาญต้นไม้ภายในอุปกรณ์ที่มีเครื่องมือสำหรับเก็บกักและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์